ค้นหาบล็อกนี้

วันพุธที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2553

วัตถุและสารเคมีอันตราย

สูตรทางเคมี

นางสาวศศิธร จันทร์เทียน เลขประจำตัว 5214770436 รุ่นที่ 1
E-mail:s_junthien@hotmail.com

ชื่อสารเคมี : อะซีโตน Acetone

ลักษณะงานและสถานที่ทำงาน
เมื่อปี 2550 ได้เข้าทำงานในโรงงานผลิตนาฬิกาข้อมือแห่งหนึ่งย่านสุขุมวิท ลักษณะงานที่ทำเป็นการควบคุมกระบวนการผลิตหน้าปัดและตัวเลขนาฬิกาเพื่อการส่งออก ซึ่งในกระบวนการผลิตจะมีการใช้สารเคมีจำพวกแลคเกอร์ ทินเนอร์ และอะซิโตน เมทิลแอลกอฮอล์ ฯลฯ แต่ในที่นี้ขอยกตัวอย่างอันตรายที่ได้รับจากสารเคมีประเภทอะซิโตน เนื่องจากผู้เขียนเคยมีประสบการณ์จากอันตรายของสารเคมีดังกล่าวโดยตรงคือมีอาการชาตามปลายประสาท เช่น แขน ขา ร่างกายและ มีอาการมึนงง คลื่นไส้ แสบท้อง ในห้องทดลองเป็นระยะเวลาโดยรวมราว 8-10 ชม. และไม่ได้ใส่อุปกรณ์ป้องกัน เนื่องจากความประมาทในการที่ไม่ได้ศึกษาโทษของสารเคมีดังกล่าวก่อน และไม่มีป้าย สัญลักษณ์ บ่งชี้อย่างชัดเจน ซึ่งเมื่อเห็นคนโดยส่วนมากปฏิบัติอย่างไรก็ปฏิบัติตามเค้าไป งานและสถานที่ทำงาน
เมื่อปี 2550 ได้เข้าทำงานในโรงงานผลิตนาฬิกาข้อมือแห่งหนึ่งย่านสุขุมวิท ลักษณะงานที่ทำเป็นการควบคุมกระบวนการผลิตหน้าปัดและตัวเลขนาฬิกาเพื่อการส่งออก ซึ่งในกระบวนการผลิตจะมีการใช้สารเคมีจำพวกแลคเกอร์ ทินเนอร์ และอะซิโตน เมทิลแอลกอฮอล์ ฯลฯ แต่ในที่นี้ขอยกตัวอย่างอันตรายที่ได้รับจากสารเคมีประเภทอะซิโตน เนื่องจากผู้เขียนเคยมีประสบการณ์จากอันตรายของสารเคมีดังกล่าวโดยตรงคือมีอาการชาตามปลายประสาท เช่น แขน ขา ร่างกายและ มีอาการมึนงง คลื่นไส้ แสบท้อง ในห้องทดลองเป็นระยะเวลาโดยรวมราว 8-10 ชม. และไม่ได้ใส่อุปกรณ์ป้องกัน เนื่องจากความประมาทในการที่ไม่ได้ศึกษาโทษของสารเคมีดังกล่าวก่อน และไม่มีป้าย สัญลักษณ์ บ่งชี้อย่างชัดเจน ซึ่งเมื่อเห็นคนโดยส่วนมากปฏิบัติอย่างไรก็ปฏิบัติตามเค้าไป

เลขอ้างอิงตามระบบองค์การสหประชาชาติ
UN Class: 3 (ของเหลวไวไฟ)
UN Number: 1090
UN Guide: 127 (ของเหลวไวไฟ (มีขั้ว / รวมกับน้ำ))

สถานที่ที่พบสามารถแบ่งได้เป็น 2 กรณี
กรณีที่ 1 ในโรงงานอุตสาหกรรมดังกล่าวพบในห้องแล็ปสำหรับล้างชิ้นงานออกจากแลคเกอร์ ทินเนอร์ กาว หรือวัสดุที่ใช้ติดงานกับอุปกรณ์ยึดจับที่ใช้สำหรับงานขัด
กรณีที่ 2 ในบ้านเรือนมักพบสารชนิดนี้ในน้ำยาล้างเล็บที่มีขายทั่วไปตามท้องตลาด

ข้อชี้บ่งสำหรับอันตรายต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม
1. ไวไฟสูง
2. ระคายเคืองต่อตา
3. การได้รับซ้ำๆ อาจทำให้ผิวหนังแห้งและแตก
4. ไอของสารอาจทำให้ซึมและง่วงนอน

มาตรการปฐมพยาบาล
1. เมื่อสูดดมสาร ถ้าสูดดมเข้าไป ให้ย้ายผู้ป่วยไปที่ที่มีอากาศบริสุทธิ์ ถ้าไม่หายใจ ให้การช่วยหายใจ ถ้าหายใจลำบาก ให้ออกซิเจน
2. เมื่อสัมผัสสาร ในกรณีที่สัมผัสกับสาร ให้ล้างผิวหนังทันทีด้วยสบู่และน้ำปริมาณมาก
3. เมื่อสารเข้าตา ในกรณีที่สัมผัสกับสาร ให้ล้างตาด้วยน้ำปริมาณมาก เป็นเวลาอย่างน้อย 15 นาที
4. เมื่อกลืนกิน เมื่อกลืนกิน ให้ใช้น้ำบ้วนปากในกรณีที่ผู้ป่วยที่ยังมีสติอยู่ ไปพบแพทย์

วิถีทางที่ได้รับสาร
การสัมผัสทางผิวหนัง: อาจทำให้เกิดการระคายเคืองผิวหนัง.
การดูดซึมทางผิวหนัง: อาจเป็นอันตรายหากถูกดูดซึมผ่านผิวหนัง.
การสัมผัสทางตา: ทำให้เกิดความระคายเคืองต่อดวงตา.
การสูดดม: อาจเป็นอันตรายหากสูดดม. สารนี้อาจจะทำให้เกิดการระคายเคืองที่แผ่นเยื่อเมือก และบริเวณทางเดินหายใจส่วนบน.
การกลืนกิน: อาจเป็นอันตรายหากกลืนกิน

อาการแสดงและการวินิจฉัย
อาการแสดงของการเกิดพิษ ขึ้นกับลักษณะการได้รับอะซีโตนเข้าสู่ร่างกาย ปริมาณของอะซีโตนที่ได้รับ และระยะเวลาที่ได้รับ

ข้อมูลของอวัยวะเป้าหมาย ตับ และไต

การปฐมพยาบาลเบื้องต้น
ควรให้กินน้ำหรือนมมากๆ เมื่อสัมผัสอะซีโตน ไม่ก่อให้เกิดอาการแพ้ และไม่ทำให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนัง แต่ถ้าเป็นการสัมผัสกับอะซีโตนต่อเนื่องเป็นเวลานาน จะทำให้ผิวแห้ง และเกิดการอักเสบของผิวตามมาเนื่องจาก อะซีโตน เป็นสารที่สามารถละลายไขมัน (defatting agent) ถ้าอะซีโตนเข้าตาจะทำให้เกิดการระคายเคืองต่อเยื่อบุตา การสูดดมอะซีโตน จะทำให้เกิดการระคายเคืองต่อเยื่อบุตา เยื่อบุจมูก และเยื่อบุทางเดินหายใจ และทำให้เกิดการกดของระบบประสาท เช่นเดียวกับสารระเหย โดยการกดประสาทของอะซีโตนมีหลายระดับ ตั้งแต่การเปลี่ยนพฤติกรรมจนถึงการเสพติด ทั้งนี้ขึ้นกับปริมาณอะซีโตนที่ได้รับโดยถ้าได้รับในปริมาณไม่เกิน 237 ส่วนต่อล้านส่วน (574 มิลลิกรัมต่อลูกบากศก์เมตร) เป็นเวลา 4 ชั่วโมง จะให้เกิดการเปลี่ยนพฤติกรรมเช่น ตื่นเต้น หงุดหงิด และ hostility ถ้าได้รับในปริมาณมากถึง 250 ส่วนต่อล้านส่วน (605 มิลลิกรัมต่อลูกบากศก์เมตร) เป็นเวลา 5.25 ชั่วโมง ระบบประสาทจะถูกกดมากขึ้นและทำให้เกิดอาการหมดแรงอ่อนเพลียและปวดศีรษะ ถ้าได้รับในปริมาณตั้งแต่ ส่วนต่อล้านส่วน (1210 มิลลิกรัมต่อลูกบากศก์เมตร) ขึ้นไป เป็นเวลา 6 ชั่วโมง จะทำให้เกิดการระคายเคืองต่อเยื่อบุต่างๆ และถ้าได้รับอะซีโตน ในปริมาณที่สูงมากหรือมากกว่า > 29 กรัมต่อลูกบากศก์เมตรจะทำให้เกิดอาการเวียนศีรษะ มึนงง สับสน และหมดสติ ถึงอย่างไรก็ตาม อะซีโตนไม่ใช่สารก่อเกิดมะเร็ง และไม่เหนี่ยวนำให้เกิดความผิดปกติของทารกในครรภ์ (teratogenic activity)

แนวทางการป้องกันแก้ไข
1. สามารถป้องกันตนเองได้โดย หาความรู้เรื่องโทษพิษภัยของสารระเหย เพื่อป้องกันตนเอง และแนะนำผู้อื่นได้
2. ควรใช้อย่างระวังและถูกต้องตามคำแนะนำที่ติดมากับผลิตภัณฑ์ นั้น ๆ
3. ป้องกันอย่าให้สารระเหยเข้าสู่ร่างกายโดยทางหายใจ หรือทางผิวหนัง โดยสวมหน้ากาก หรือใช้ผ้าปิดปาก ปิดจมูก และสวมเสื้อผ้าปกคลุมให้มิดชิด ขณะใช้สารระเหย
4. ขณะใช้สารระเหย ควรอยู่เหนือลม และในที่ ที่มีอากาศ ถ่ายเทสะดวก

วันเสาร์ที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2553

การพิจารณาการจัดตั้งหรือขยายกรณีศึกษา โรงไฟฟ้าพลังความร้อน โดยใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิง

การพิจารณาออกใบอนุญาติประกอบกิจการโรงงาน และขยายโรงงาน
กรณีศึกษา โรงไฟฟ้าพลังความร้อน โดยใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิง
ศศิธร จันทร์เทียน
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง หัวหมาก บางกะปิ 10240
และE-mail address s_junthien@hotmail.com
บทคัดย่อ

ความต้องการใช้ไฟฟ้าที่สูงขึ้นร้อยละ 21 ทำให้กำลังการผลิตไฟฟ้าจากก๊าซธรรมชาติไม่เพียงพอต้องหาพลังงานในรูปแบบอื่นมาทดแทน พลังงานในรูปแบบเดิม พลังงานที่น่าสนใจที่จะนำเสนอในงานนี้ คือพลังงานความร้อนจากถ่านหิน ปัจจุบันทางกรมโรงงานอุตสาหกรรมยังไม่มีการกำหนดประเภทที่ชัดเจน แต่อุตสาหกรรมที่ใช้พลังงานถ่านหินเป็นอุตสาหกรรมที่มีกากของเสียที่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม และเป็นมลพิษทางอากาศ การพิจารณาจัดตั้งหรือขยายโรงงาน จะต้องมีการศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้อง และผลกระทบที่จะเกิดขึ้น ทั้งผลกระทบทางตรง และทางอ้อม
คำสำคัญ: อุตสาหกรรมถ่านหิน โรงไฟฟ้าแม่เมาะ กฎหมาย
1. บทนำ
ความต้องการใช้ไฟฟ้าในประเทศไทยช่วงที่ผ่านมาจะพบว่ามีแนวโน้มความต้องการใช้ไฟฟ้าที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งการนำไฟฟ้ามาใช้ในบ้านพักอาศัย กิจการขนาดเล็ก ธุรกิจ อุตสาหกรรม ราชการ การเกษตร จากความต้องการใช้ไฟฟ้าในเดือนมกราคม 2551 มียอดการใช้ไฟฟ้า 18,600 เมกะวัตต์ เมื่อเปรียบเทียบในเดือนมกราคม 2552 เพิ่มสูงขึ้นเป็น 21,000 เมกะวัตต์ เพิ่มขึ้น 2,400 เมกะวัตต์ หรือร้อยละ 21.01
กระทรวงพลังงาน ได้ค้นคว้าหาพลังงานเพื่อใช้ในการผลิตไฟฟ้าให้เพียงพอกับความต้องการของประชาชนในประเทศ จากเดิมมีการใช้ก๊าซธรรมชาติในการผลิตไฟฟ้าคิดเป็นร้อยละ 70 ของเชื้อเพลิงทั้งหมด และได้มีผู้ที่สนใจนำพลังงานในรูปแบบอื่นๆ มาใช้ในการผลิตไฟฟ้า เช่น พลังงานลม พลังงานความร้อนจากถ่านหิน น้ำมัน แอลเอ็นจี และนิวเคลียร์ ในงานวิจัยนี้จะกล่าวถึงเฉพาะโรงไฟฟ้าถ่านหิน
อุตสาหกรรมที่ใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงไม่มีกำหนดประเภทอย่างชัดเจนในการจัดกลุ่มของกรมโรงงานอุตสาหกรรม การพิจารณาออกใบอนุญาติประกอบกิจการโรงงาน และขยายโรงงาน จะต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 การผังเมือง พ.ศ. 2518 พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 หรือมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง
2. ทฤษฏีที่เกี่ยวข้อง
อุตสาหกรรมที่ใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิง เป็นโรงงานที่มีผลกระทบต่อมลพิษอากาศ และมนุษย์มาก การจัดตั้งหรือขยายโรงงาน จะต้องมีการแจ้งชนิดเชื้อเพลิงให้กรมโรงงานอุตสาหกรรมทราบก่อน เพื่อใช้ประกอบการพิจารณาระบบการกำจัดมลพิษ
การพิจารณาการจัดตั้งหรือขยายโรงงาน จะพิจารณาดังนี้
2.1 การพิจารณาที่ตั้งโรงงาน
การพิจารณาที่ตั้งโรงงานต้องไม่ขัดกับกฎหมายดังต่อไปนี้
· กฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2535) ออกตามความในพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 และประกาศกระทรวงที่ออกตามกฎกระทรวงดังกล่าว เช่น ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง ให้ร่นหรือไม่ใช้บังคับข้อกำหนดเกี่ยวกับระยะทางระหว่างโรงงาน และเขตติดต่อสาธารณะ ลงวันที่ 2 กันยายน 2545
· ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง กำหนดประเภท จำนวน และขนาดของโรงงานที่ไม่ให้ตั้งหรือขยายตามมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติโรงงาน

2.2 การพิจารณามลพิษทางอากาศ
อุตสาหกรรมที่ใช้ถ่านหินเป็นองค์ประกอบต้องพิจารณากฎหมายด้านมลพิษทางอากาศดังนี้
· กฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2535) ออกตามความในพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 ลงวันที่ 24 กันยายน 2535
· ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง เขม่าควันที่เจือปนในอากาศที่ระบายออกจากปล่องของหม้อน้ำโรงงาน ลงวันที่ 31 ตุลาคม 2549
· ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง กำหนดปริมาณของสารเจือปนในอากาศที่ระบายออกจากโรงงาน พ.ศ. 2549 ลงวันที่ 31 ตุลาคม 2549
2.3 การกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว
· ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว ลงวันที่ 27 ธันวาคม 2548

2.4 การจัดการความปลอดภัย
· กฎกระทรวง (พ.ศ. 2549) กำหนดมาตรการความปลอดภัยเกี่ยวกับหม้อน้ำที่ใช้ของเหลวเป็นสื่อนำ ความร้อน และภาชนะรับแรงดันในโรงงาน ลงวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2549
· ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง มาตรการความปลอดภัยเกี่ยวกับหม้อต้มน้ำและหม้อน้ำของเหลวที่ใช้เป็นสื่อนำความร้อน ลงวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2549
โรงไฟฟ้าแม่เมาะเป็นโรงไฟฟ้าพลังความร้อนที่ใช้ถ่านลิกไนต์เป็นเชื้อเพลิง ด้วยการแปรสภาพพลังงานสะสมของถ่านลิกไนต์ให้เป็นพลังงานไฟฟ้า โดยใช้น้ำเป็นตัวกลาง กระบวนการแปรสภาพพลังงานดังกล่าว มีขั้นตอนดังนี้
1. เปลี่ยนพลังงานสะสมในถ่านลิกไนต์ให้เป็นพลังงานความร้อน โดยการเผาใหม้หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าการสันดาป (Combusion or Oxidation)
2. พลังงานความร้อนที่ได้จากการเผาไหม้ถูกส่งผ่านไปให้กับน้ำทำให้น้ำกลายเป็นไปน้ำ อุณหภูมิและความดันสูง
3. เปลี่ยนพลังงานความร้อนของไอน้ำให้เป็นพลังงานกล โดยใช้ไอน้ำไปหมุนกังหันไอน้ำ
4. เปลี่ยนพลังงานกลเป็นพลังงานไฟฟ้า โดยให้กังหันไอน้ำไปหมุนเครื่องกำเนิดไฟฟ้า เป็นการสิ้นสุดขั้นตอนการแปรสภาพพลังงาน

4. การวิเคราะห์ทางด้านเทคนิคโรงไฟฟ้าแม่เมาะ
ถ่านหินเมื่อเกิดการเผาไหม้จะปล่อยก๊าซต่างๆ ที่เป็นมลพิษทางอากาศ ทั้งที่อยู่ในรูปของละอองธุลี (Particulate matters) และอยู่ในรูปของออกไซด์ของก๊าซต่างๆ มากมายเช่น ซัลเฟอร์ออกไซด์ (SO2) ไนโตรเจนออกไซด์ (NO2) เป็นต้น อันเป็นสาเหตุให้เกิดปรากฏการณ์ต่างๆ ที่ส่งผลโดยตรงต่อมนุษย์และบรรยากาศของโลก เช่น การเกิดฝนกรด ปรากฏการณ์ก๊าซเรือนกระจก เป็นต้น การพิจาณาด้านเทคนิคจึงต้องพิจารณาเทคโนโลยีที่จะสามารถลดมลพิษที่เกิดขึ้นจากการเผาไหม้ถ่านหิน ให้มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุดด้วย ซึ่งเทคโนโลยีนี้เรียกว่า เทคโนโลยีถ่านหินสะอาด (Clean Coal Technology)
ปัจจุบันโรงไฟฟ้าแม่เมาะจะใช้เทคโนโลยีการเผาไหม้ถ่านหินแบบผง (Pulverised coal combustion – PCC) โดยผ่านวัฏจักรไอน้ำ ซึ่งมีอุณหภูมิการเผาไหม้ภายในเตาสูงประมาณ 1,200-1,700 องศาเซลเซียส และด้วยอุณหภูมิที่สูงจึงอาจทำให้ถ่านหินคุณภาพต่ำบางชนิดเกิดปัญหาการหลอมเหลวของขี้เถ้าเกาะติดภายในผนังเตา ขณะที่รูปแบบการจัดการมลพิษในก๊าซไอเสียก่อนปล่อยออกสู่บรรยากาศจะใช้เทคโนโลยีเครื่องดักจับภายหลังกระบวนการเผาไหม้
โรงไฟฟ้าแม่เมาะ มีการติดตั้งเครื่องกำจัดซัลเฟอร์ไดออกไซต์ หรือที่เรียกย่อ ๆ ว่า FGD นั้น เป็นอุปกรณ์ที่ใช้แยกก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ออกจากก๊าซไอเสียที่ได้จากการเผาไหม้เชื้อเพลิงที่มีกัมมะถันปนอยู่ในเชื้อเพลิง FGD ที่ใช้สำหรับโรงไฟฟ้าแม่เมาะ หน่วยที่ 8-13 เป็น FGD ชนิดเปียก (Wet type FGD) ซึ่งมีประสิทธิภาพในการจับก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์สูงถึง 92-95 % ใน FGD ระบบนี้จะใช้หินปูน (Calsium Carbonate, CaCO3) เป็นตัวดูดซับ (Absorbant) และจะได้ยิบซั่ม (Gypsum, CaSO4 2H2O) เป็นผลผลิต (By product)



5. การวิเคราะห์ทางด้านกฎหมายโรงไฟฟ้าแม่เมาะ
การดำเนินการต่างๆ เพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมายอาชีวอนามัย และความปลอดภัยมีดังนี้
5.1 เรื่องเกี่ยวกับเครื่องจักร
จะต้องสำรวจและติดตั้งอุปกรณ์ป้องกัน เพิ่มเติมในเครื่องจักรที่มีการถ่ายทอดพลังงานเช่น เพลาสายพาน ปุลเล่ ไฟสวิล

5.2 เรื่องความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับภาวะแวดล้อม
จะต้องเพิ่มการดูแลในเรื่องความร้อนกำหนดมาตรฐานการปฏิบัติ

5.3 เรื่องความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้า
· จัดทำแผนผังวงจรไฟฟ้าในส่วนที่รับผิดชอบ
· แก้ไขแผนผังไฟฟ้าถ้ามีการเพิ่มเติม
· สำรวจและติดตั้งสายดินเพิ่มเติมเช่น แท่นกลึง

5.4 เรื่องการป้องกันและการระงับอัคคีภัยในสถานประกอบการ
เพื่อความปลอดภัยในการทำงานสำหรับพนักงาน
ติดตั้งจะติดตั้งอุปกรณ์สัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้

5.5 เรื่อง พ.ร.บ. ควบคุมอาหาร พ.ศ. 2522
ติดตั้งป้ายบอกชั้นที่บริเวณหน้าลิฟท์ และบันไดหนีไฟ

5.6 เรื่องความปลอดภัยในการทำงานพ.ศ. 2534
ติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันความปลอดภัย เพื่อป้องกันประกายไฟหรือเศษวัตถุและกำหนดมาตรการในการใช้เครื่องมือ

5.7 เรื่องความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับสภาวะแวดล้อมทางสารเคมี
จัดหาเครื่องมือหรือหัวเซ็นเซอร์

5.7 เรื่องความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับปั้นจั่น
· จัดทำรายงานการตรวจสอบปั้นจั่นทุก 3 เดือน
· ติดตั้งสัญญาณเสียงแสงขณะที่ปั้นจั่นเคลื่อนที่
· จัดทำคู่มือภาษาไทยเกี่ยวกับปั้นจั่น

5.8 เรื่องกำหนดหลักเกณฑ์และวิธืการเกี่ยวกับการขนส่งการเก็บรักษาเคลื่อนย้ายและกำหนดหีบห่อภาชนะบรรจุหรือวัสดุห่อหุ้มสารเคมีมีอันตราย
ต้องมีการดำเนินการจัดทำรั้วล้อมรอบสถานที่เก็บสารเคมี

5.9 เรื่องการขนส่งวัตถุอันตราย
· จะต้องมีอุปกรณ์ป้องกัน และ PPE ที่จำเป็นประจำรถ
· จะต้องมีข้อมูล MSDS ประจำรถ
· ผู้ขับขี่จะต้องผ่านการอบรมเกี่ยวกับวัตถุอันตราย

6. สรุป
การนำพลังงานความร้อนจากถ่านหินมาทดแทนก๊าซธรรมชาติที่ใช้ในประเทศ จะต้องมีการศึกษาถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้น ก่อนการพิจารณาจัดตั้งโรงไฟฟ้า เพื่อลดปัญหาที่จะเกิดผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม และประชาชนที่มีส่วนเกี่ยวข้อง แม้ว่าจะมีความจำเป็นต้องใช้พลังงานไฟฟ้าเพิ่มสูงขึ้น ก่อนสร้างโรงงานก็จะต้องศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้องก่อนด้วย
กิตติกรรมประกาศ
การศึกษาผลงานในครั้งนี้ได้ศึกษาเกี่ยวกับกฎหมายที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดตั้งและขยายโรงไฟฟ้าที่ใช้ความร้อนจากถ่านหินเป็นเชื้อเพลิง ผู้จัดทำขอกราบขอบพระคุณคณาจารย์ทุกท่านที่ได้ให้คำปรึกษาแนะนำผลงานในครั้งนี้ให้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี

แหล่งที่มาข้อมูล
[1] คู่มือการกำกับดูแลโณงงานอุตสาหกรรมที่มีการใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิง
[2] พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535
[3] โรงไฟฟ้าแม่เมาะ. http://maemoh.egat.com/index/index.php [Online]. 25 มีนาคม 2553
[4] หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจฉบับที่ 2,506 18-20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553
[5] เอกสารเผยแพร่พลังงานสะอาดจาก…ถ่านหิน เทคโนโลยี เพื่ออนาคตไทย, ฝ่ายประชาสัมพันธ์ การ ไฟฟ้าฝ่าย ผลิตแห่งประเทศไทย
[6] เอกสารเผยแพร่สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน
[7] เอกสารเผยแพร่สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน
[8] หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ฉบับประจำวันจันทร์ที่ 8 ตุลาคม พุทธศักราช 2550 หน้า B6

วันเสาร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ยาเสพติดเป็นพิษคิดสักนิดก่อนชีวิตวอดวาย

วิศวะราม ร่วมใจร่วมรณรงค์ต่อต้านยาเสพติด "หยุด" ก่อนที่มันจะทำร้ายตัวคุณ และคนที่คุณรัก


สิ่งเสพติด หรือที่เรียกกันว่า "ยาเสพติด" ในความหมายของ องค์การอนามัยโลก (World Health Organization or WHO) จะหมายถึงสิ่งที่เสพเข้าไปแล้วจะเกิดความต้องการทั้งทางร่างกายและจิตใจต่อไปโดยไม่สามารถหยุดเสพได้ และจะต้องเพิ่มปริมาณมากขึ้นเรื่อยๆ จนในที่สุด จะทำให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บต่อร่างกายและจิตใจขึ้น
พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พุทธศักราช 2522 ที่ใช้ในปัจจุบันได้กำหนดความหมายสิ่งเสพติดให้โทษดังนี้ สิ่งเสพติดให้โทษ หมายถึง "สารเคมีหรือวัตถุชนิดใดๆ ซึ่งเมื่อเสพเข้าสู่ร่างกายไม่ว่าจะโดยรับประทาน ดม สูบ ฉีด หรือด้วยประการใดๆ แล้วทำให้เกิดผลต่อร่างกายและจิตใจใน ลักษณะสำคัญ เช่น ต้องเพิ่มปริมาณการเสพขึ้นเรื่อยๆ มีอาการขาดยาเมื่อไม่ได้เสพ มีความต้องการเสพทั้งทางร่างกายและจิตใจอย่างรุ่นแรงอยู่ตลอดเวลา และทำให้สุขภาพทรุดโทรมลง กับให้รวมตลอดถึงพืช หรือส่วนของพืชที่เป็นหรือให้ผลผลิตเป็นยาเสพติดให้โทษหรืออาจใช้ผลิตเป็นยาเสพติดให้โทษ และสารเคมีที่ใช้ในการผลิตยาเสพติดให้โทษด้วย ทั้งนี้ ตามที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา แต่ไม่หมายความถึงยาสามัญประจำบ้านบางตำรับ ตามกฎหมายว่าด้วยยาที่มียาเสพติดให้โทษผสมอยู่"
ปัจจุบันนี้สิ่งเสพติดนับว่าเป็นปัญหาสำคัญของประเทศ เพราะสิ่งเสพติดเป็นบ่อเกิดของปัญหาอื่นๆ หลายด้าน นับตั้งแต่ ตัวผู้เสพเองซึ่งจะเกิดความทุกข์ ลำบากทั้งกายและใจ และเมื่อหาเงินซื้อยาไม่ได้ก็อาจจะก่อให้เกิด
อาชญากรรมต่างๆ สร้างความเดือดร้อนให้พ่อแม่พี่น้อง และสังคม ต้องสูญเสีย เงินทอง เสียเวลาทำมาหากิน ประเทศชาติต้องสูญเสียแรงงานและสูญเสียเงินงบประมาณในการปราบปรามและรักษาผู้ติดสิ่งเสพติด และเหตุผลที่ทำให้ สิ่งเสพติดเป็นปัญหาสำคัญของประเทศอีกข้อหนึ่งคือ ปัจจุบันมีผู้ติดสิ่งเสพติดเพิ่มมากขึ้นทั้งนี้ยังไม่รวมถึงจำนวนผู้ติดบุหรี่ สุรา ชา กาแฟ (ที่มาข้อมูล:วิกิพิเดีย สารานุกรมเสรีไทย)

http://www.youtube.com/watch?v=gB-36oIo-c4&feature=PlayList&p=6F52B448668C9F90&playnext=1&playnext_from=PL&index=27